วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558

การสร้างคำ และวิธีการเขียนภาษาเกาหลี

หลังจากที่ได้เรียนรู้ พยัญชนะ และ สระ ในภาษาเกาหลี กันไปแล้ว ลำดับต่อมา ที่ผู้เรียนภาษาเกาหลีจะต้องทราบ นั่นก็คือ การสร้างคำ นั่นเองค่ะ ซึ่งวิธีการสร้างคำในภาษาเกาหลีนั้น ก็เหมือนกับภาษาไทยค่ะ นั่นก็คือ เริ่มจาก พยัญชนะ สระ และตามด้วย ตัวสะกด โดยมีหลักเกณฑ์ในการเขียน ดังนี้

1.) สระ ㅏ,ㅑ,ㅓ,ㅕ,ㅣ,ㅐ,ㅒ,ㅔ,ㅖ อยู่ด้านขวาของพยัญชนะเสมอ เช่น 가, 야, 서, 이, 내, 얘, 네, 예
2.) สระ ㅗ, ㅛ, ㅜ, ㅠ, ㅡ อยู่ด้านล่างของพยัญชนะ เช่น 고, 요, 수, 휴, 그
3.) สระรูปประสม เช่น  ㅘ, ㅙ, ㅚ, ㅝ, ㅞ, ㅟ, ㅢ ให้เขียนพยัญชนะก่อน ตามด้วยสระด้านซ้าย และด้านขวา เช่น ต้องการจะเขียนคำว่า 와 ให้เขียนตัว ㅇ ก่อน จากนั้น ตามด้วยสระ ㅗ และสระ ㅏ จะได้เป็น 와
4.) ถ้าหากมีตัวสะกดเพิ่มเข้ามา ให้ยึดตามหลัก พยัญชนะ สระ และตามด้วยตัวสะกด ปิดท้ายเสมอ โดยตัวสะกด จะอยู่ด้านล่างของพยัญชนะ และสระค่ะ

ข้อควรจำ

สำหรับหลักการเขียนภาษาเกาหลี มีง่ายๆ ค่ะ ให้เขียนจากบน ลงล่าง และเขียนจากซ้าย ไปขวา เสมอ ดังนี้
k1
                                                                
   และวิธีการที่จะทำให้เขียนภาษาเกาหลีได้คล่อง ก็คือ การฝึกเขียนบ่อยๆ นั่นเอง มีเวลาว่าง อย่าลืมไปฝึกเขียนกันนะคะ
    การอ่านออกเสียงภาษาเกาหลี ถือว่า เป็นเรื่องที่สำคัญเช่นเดียวกัน และจำเป็นต้องฝึกอ่านให้คล่อง เนื่องจากการอ่านออกเสียงภาษาเกาหลีนั้น จะไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับบริบทเป็นสำคัญ ซึ่งกฏการอ่านออกเสียง ในภาษาเกาหลี มีอยู่ไม่กี่ข้อค่ะ ถ้าหากจดจำได้ ก็จะช่วยทำให้เราอ่านภาษาเกาหลีได้ง่ายขึ้น


    การอ่านออกเสียงตัวสะกด

    แม้ว่าภาษาเกาหลี จะมีพยัญชนะหลายตัว และออกเสียงที่แตกต่างกัน แต่เมื่อมาเป็นตัวสะกดแล้ว จะอ่านออกเสียงได้แค่ 7 เสียงเท่านั้น ดังนี้
    1.) พยัญชนะ ㄱ ㄲ ㅋ ㄳ จะออกเสียงเป็น แม่กก เช่น
    닥 อ่านว่า /ดัก/
    밖 อ่านว่า /พัก,บัก/
    엌 อ่านว่า /ออก/
    넋 อ่านว่า /นอก/
    2.) พยัญชนะ ㅇ จะออกเสียงเป็น แม่กง เช่น 성 อ่านว่า /ซอง/
    3.) พยัญชนะ ㄴ ㄵ ㄶ จะออกเสียงเป็น แม่กน เช่น
    한 อ่านว่า /ฮัน/
    앉 อ่านว่า /อัน/
    않 อ่านว่า /อัน/
    4.) พยัญชนะ ㅁ ㄻ จะออกเสียงเป็น แม่กม เช่น
    남 อ่านว่า /นัม/
    앎 อ่านว่า /อัม/
    5.) พยัญชนะ ㄷ ㅅ ㅆ ㅈ ㅉ ㅊ ㅌ ㅎ จะออกเสียงเป็น แม่กด เช่น
    곧 อ่านว่า /กด/
    웃 อ่านว่า /อุด/
    있 อ่านว่า /อิด/
    잊 อ่านว่า /อิด/
    꽃 อ่านว่า /กด/
    같 อ่านว่า /คัด/
    촣 อ่านว่า /ชด/
    6.) พยัญชนะ ㅂ ㅍ ㅄ ㄿ จะออกเสียงเป็น แม่กบ เช่น
    밥 อ่านว่า /บับ/
    앞 อ่านว่า /อับ/
    없 อ่านว่า /ออบ/
    맖 อ่านว่า /มับ/
    7.) พยัญชนะ ㄹ ㄽ ㄾ ㅀ จะออกเสียงเป็น แม่กล เช่น 발 อ่านว่า /บัล/

    การโยงเสียง

    สำหรับเรื่องการอ่านออกเสียงแบบโยงเสียง  ถือว่า เป็นเรื่องที่สำคัญมากในภาษาเกาหลีค่ะ และจำเป็นต้องฝึกให้คล่องเพื่อไม่ให้ออกเสียงเพี้ยน โดยการโยงเสียง มีทั้งหมด 3 แบบด้วยกัน นั่นก็คือ
    1) พยางค์ที่ลงท้ายด้วยตัวสะกดเดี่ยว และพยัญชนะต้นของพยางค์ถัดไป เป็นตัว ㅇ (อีอึง) ให้โยงเสียงตัวสะกดเข้าไปแทนที่ตัว ㅇ (อีอึง) แทน ตัวอย่างเช่น
    한국어 อ่านว่า 한-구-거 /ฮัน กู กอ/
    윤아 อ่านว่า 유-나 /ยู นา/
    먹을 อ่านว่า 머-을 /มอ กึล/
    ข้อสังเกต สำหรับการโยงเสียงแบบนี้ก็คือ ตัวสะกดในพยัญชนะตัวแรก จะกลายเป็นพยัญชนะต้นของพยางค์ถัดไป ซึ่งแทนที่ตัว ㅇ (อีอึง) นั่นเองค่ะ
    2) พยางค์ที่ลงท้ายด้วยตัวสะกดประสม และพยัญชนะต้นของพยางค์ถัดไป เป็นตัว ㅇ (อีอึง) ให้โยงเสียงตัวสะกดตัวที่ 2 แทนที่ㅇ (อีอึง) ตัวอย่างเช่น
    있어요 อ่านว่า 잇-서-요 /อิด ซอ โย/
    없어요 อ่านว่า 업-서-요 /ออบ ซอ โย/
    앉아요 อ่านว่า 안-자-요 /อัน จา โย/
    3) พยางค์ที่ลงท้ายด้วยตัวสะกด ㅎ และตามหลังด้วยพยัญชนะต้น ㅇ (อีอึง) ให้ตัด ㅎ ทิ้ง เสมือนว่า ไม่ได้ออกเสียง ตัวอย่างเช่น
    좋아 อ่านว่า 조-아 /โช อา/
    싫어요 อ่านว่า 시-러-요 /ชิ รอ โย/

    ข้อควรจำ

    ตัว ㅎ เมื่อเป็นตัวสะกดแล้ว ไม่จำเป็นต้องไม่ออกเสียงเสมอไป ขึ้นอยู่กับบริบทด้วย ดังนี้
    1) พยางค์ที่ลงท้ายด้วยตัวสะกด ㅎ และตามหลังด้วยพยัญชนะต้น ㄱ, ㄷ, ㅅ, ㅂ, ㅈ พยัญชนะต้นเหล่านี้ จะออกเสียงเป็นเสียงหนักทันที ดังนี้
    ㅎ + ㄱ = ㅋ
    ㅎ + ㄷ หรือ ㅅ = ㅌ
    ㅎ + ㅂ = ㅍ
    ㅎ + ㅈ = ㅊ
    ตัวอย่างเช่น
    좋고 อ่านว่า 조-코 /โช โก/
    좋다 อ่านว่า 조-타 /โช ถะ/
    잡히다 อ่านว่า 자-피-다 /จา พี ดะ/
    좋지 อ่านว่า 조 치 /โจ ชิ/
    2) เมื่อตัวสะกด ㄴ, ㄹ, ㅁ, ㅇ อยู่ก่อนหน้าพยัญชนะต้น ㅎ จะสามารถอ่านออกเสียงได้ 2 แบบ นั่นก็คือ อ่านโดยการโยงเสียง ㄴ, ㄹ, ㅁ, ㅇ มาแทนที่ หรืออ่านแบบปกติ ตัวอย่างเช่น
    전화 อ่านว่า 전화 /ชอน ฮวา/ หรือ 저놔 /ชอน นวา/ ก็ได้
    일하다 อ่านว่า 일하다 /อิล ฮา ดะ/ หรือ 이라다 /อี ลา ดะ/ ก็ได้

    การออกเสียงขึ้นจมูก (เสียงนาสิก)

    สำหรับการออกเสียงสำหรับ พยัญชนะนาสิกนั้น มีหลักการจำง่ายๆ ดังนี้
    kkkkk1
    ตัวอย่างเช่น
    앞문 อ่านว่า 암만 /อัม-มุน/
    낱말 อ่านว่า 난말 /นัน-มัล/
    국물 อ่านว่า 궁물 /กุง-มุล/
    막내 อ่านว่า 망내 /มัง-เน/

    การลงเสียงหนัก

    ถ้าหากเจอคำหรือพยางค์ ที่มีการลงท้ายตัวสะกด ㅂ, ㄷ, ㄱ และตามด้วยพยัญชนะต้น ㅂ, ㄷ, ㅈ, ㅅ, ㄱ ในรูปแบบนี้ พยัญชนะต้นของพยางค์ถัดไป ให้ลงเสียงหนัก
    kkkkk2
    ตัวอย่างเช่น
    잡비 อ่านว่า 잡삐 /จับ-ปี/
    법대 อ่านว่า 법때 /บอบ-เต/
    답장 อ่านว่า 답짱 /ดับ-จัง/
    학생 อ่านว่า 학쌩 /ฮัก-เซง/
    입국 อ่านว่า 입꾹 /อิบ กุก/
    หลักเกณฑ์คือ อ่านออกเสียงคล้ายเดิม แต่ลงน้ำหนักเสียงให้หนักขึ้น

    การออกเสียงตัว ㅎ (ฮีอึด)

    สำหรับตัว ㅎ (ฮีอึง) นั้น เมื่อเป็นตัวสะกด หรือพยัญชนะต้น อาจจะอ่านออกเสียง หรือไม่ออกเสียงก็ได้ ขึ้นอยู่กับบริบทของคำ ให้จำดังนี้
    kkkkk3
    ตัวอย่างเช่น
    입학 อ่านว่า 입팍 /อิบ-พัก/
    맏형 อ่านว่า 맏텅 /มัด-ทอง/
    그렇지 อ่านว่า 그러치 /คือ-รอ-ชิ/
    빨갛게 อ่านว่า 빨가케 /ปัล-กา-เค/

    การกลมกลืนเสียง

    สำหรับการกลมกลืนเสียง นับว่าเป็นกฏการออกเสียงที่สำคัญอีกข้อหนึ่ง และถูกใช้กันบ่อยในภาษาเกาหลี โดยมีหลักการจำ ดังนี้
    kkkkk4
    ตัวอย่างเช่น
    심리 อ่านว่า 심니 /ชิม-นี/
    생산량 อ่านว่า 생산냥 /เซง-ซัน-นยัง/
    신라 อ่านว่า 살라 /ชิล-ลา/ หรือ 신나 /ชิน-นา/
    섭리 อ่านว่า 섬니 /ซอม-นี/
    เรามาลองทำแบบฝึกหัดกันเถอะค่าาา
    1. 아버지  อ่านว่า
    2. 딸  อ่านว่า
    3. 흰색  อ่านว่า
    4. 교질   อ่านว่า
    5. 빵집  อ่านว่า
    6. 의사 อ่านว่า
    7. 선생님 อ่านว่า
    8. 가위 อ่านว่า
    9. 비누 อ่านว่า
    10. 겨울  อ่านว่า
    11. 어떻다 อ่านว่า
    12. 시원하다 อ่านว่า
    13. 날씨 อ่านว่า
    14. 고기 อ่านว่า 
    15. 계란 อ่านว่า
    16. 불고기 อ่านว่า
    17. 커피 อ่านว่า
    18. 원숭이 อ่านว่า
    19. 돼지 อ่านว่า
    20. 옥수수 อ่านว่า

    3 ความคิดเห็น: