วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558

พยัญชนะและสระในภาษาเกาหลี

ก่อนที่จะเริ่มศึกษา ภาษาเกาหลี นั้น สิ่งแรกที่จำเป็นต้องเรียนรู้ และจดจำให้แม่นยำ ก็คือ พยัญชนะ และ สระ โดย อักษรภาษาเกาหลี หรือ ฮันกึล (한글) พระเจ้าเซจง เป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้น ซึ่งประกอบไปด้วย พยัญชนะเดี่ยว 14 ตัว, พยัญชนะซ้อน 5 ตัว, สระเดี่ยว 10 ตัว และ สระประสม 11 ตัว ดังนี้

พยัญชนะเดี่ยว 14 ตัว ได้แก่

ㄱ อ่านว่า กี ยอก ตรงกับอักษร ก หรือ ค ในภาษาไทย
ㄴ อ่านว่า นี อึน ตรงกับอักษร น ในภาษาไทย
ㄷ อ่านว่า ดี กึด ตรงกับอักษร ด หรือ ท ในภาษาไทย
ㄹ อ่านว่า /รี อึล/ ตรงกับอักษร ร ในภาษาไทย
ㅁ อ่านว่า /มี อึม/ ตรงกับอักษร ม ในภาษาไทย
ㅂ อ่านว่า /บี อึบ/ ตรงกับอักษร บ หรือ พ  ในภาษาไทย
ㅅ อ่านว่า /ชี อด/ ตรงกับอักษร ซ หรือ ช ในภาษาไทย
ㅇ อ่านว่า /อึ อึง/ ตรงกับอักษร ง ในภาษาไทย หรือไม่ออกเสียง
ㅈ อ่านว่า /ชี อึด/ ตรงกับอักษร จ หรือ ช ในภาษาไทย
ㅊ อ่านว่า /ชิ อึด/ ตรงกับอักษร ช (ออกเสียงหนัก) ในภาษาไทย
ㅋ อ่านว่า /คิ อึด/ ตรงกับอักษร ค (ออกเสียงหนัก) ในภาษาไทย
ㅌ อ่านว่า /ทิ อึด/ ตรงกับอักษร ท (ออกเสียงหนัก) ในภาษาไทย
ㅍ อ่านว่า /พิ อึบ/ ตรงกับอักษร พ (ออกเสียงหนัก) ในภาษาไทย
ㅎ อ่านว่า /ฮี อึง/ ตรงกับอักษร ฮ ในภาษาไทย

พยัญชนะซ้อน 5 ตัว ได้แก่

ㄲ อ่านว่า /ซัง กี ยอก/ ตรงกับอักษร ก (ออกเสียงหนัก) ในภาษาไทย
ㄸ อ่านว่า /ซัง ดี กึด/ ตรงกับอักษร ต ในภาษาไทย
ㅃ อ่านว่า /ซัง บี อึบ/ ตรงกับอักษร ป ในภาษาไทย
ㅆ อ่านว่า /ซัง ชี อด/ ตรงกับอักษร ซ (ออกเสียงหนัก) ในภาษาไทย
ㅉ อ่านว่า /ซัง ชี อึด/ ตรงกับอักษร จ (ออกเสียงหนัก) ในภาษาไทย

สระเดี่ยว 10 ตัว ได้แก่

ㅏ อ่านว่า อา, อะ
ㅑ อ่านว่า ยา
ㅓ อ่านว่า เอาะ, ออ
ㅕ อ่านว่า ยอ
ㅗ อ่านว่า โอะ, โอ
ㅛ อ่านว่า โย
ㅜ อ่านว่า อุ, อู
ㅠ อ่านว่า ยู
ㅡ อ่านว่า อึ, อือ
ㅣอ่านว่า อิ, อี

สระประสม 11 ตัว ได้แก่

ㅐ อ่านว่า แอ (แต่เวลาออกเสียงจริงๆ จะอ่านว่า เอ)
ㅒ อ่านว่า แย (แต่เวลาออกเสียงจริงๆ จะอ่านว่า เย)
ㅔ อ่านว่า เอ
ㅖ อ่านว่า เย
ㅘ อ่านว่า วา
ㅙ อ่านว่า แว (แต่เวลาออกเสียงจริงๆ จะอ่านว่า เว)
ㅚ อ่านว่า เว
ㅝ อ่านว่า วอ
ㅞ อ่านว่า เว
ㅟ อ่านว่า วี
ㅢ อ่านว่า อึย, อี, หรือ เอ (ขึ้นอยู่กับคำๆ นั้น)

ข้อควรจำ


แม้ว่า พยัญชนะเดี่ยว 14 ตัวอักษรข้างต้นนั้น จะมีบางตัวที่การออกเสียงคล้ายกันในภาษาไทย แต่สำหรับภาษาเกาหลีแล้วการลงน้ำหนักเสียงที่ต่างกัน จะได้ความหมายของคำที่ต่างกันค่ะ ยกตัวอย่างเช่น ตัว ㄱ, ㄷ, ㅂ, ㅈ จะสามารถออกเสียงได้ 2 แบบ ถ้าหากคำๆ นั้น มีอักษรแบบเดียวกันติดกัน 2 คำ เช่นคำว่า 가게 ที่แปลว่า ร้านค้า เราจะไม่ออกเสียงว่า /กา-เก/ แต่เราจะออกเสียงว่า /คา-เก/  แทน
อักษร ㅅ (ชี อด) แม้ว่ารูปแบบการออกเสียงจริงๆ จะเป็น ซ โซ่ แต่เมื่อมีการประสมเข้ากับ สระอี หรือ สระเสียงเสียง ย ได้แก่ ㅑ, ㅕ, ㅛ หรือ ㅠ  จะออกเสียงเป็น ช ช้าง ทันที ยกตัวอย่างเช่น 식 จะออกเสียงเป็น /ชิก/ ไม่ใช่ /ซิก/ หรือ 쇼 ออกเสียงเป็น /โช/ ไม่ใช่ /ซโย/ เป็นต้น ซึ่งจุดนี้ เคยเห็นหลายท่านออกเสียงผิดมาแล้ว อย่างเช่น ชื่อของ 시원 สมาขิกวง Super Junior ที่จริงๆ แล้ว ต้องออกเสียงว่า /ชี-วอน/ ไม่ใช่ /ซี-วอน/ นะคะ
เสียงสระในภาษาเกาหลี ไม่มีการแบ่งเสียงสั้น หรือเสียงยาว ขึ้นอยู่กับการพูดของคนนั้นๆ รูปสระภาษาเกาหลีบางคำ เช่น ㅐ แม้จะเขียนอยู่ในรูปสระแอ แต่การอ่านออกเสียงจริงๆ จะออกเสียงเป็น สระเอ แทน ซึ่งหลายๆ ท่าน อาจจะเกิดคำถามว่า แล้วแบบนี้ เราจะทราบได้อย่างไรว่า คำที่พูดออกมานั้น ใช้สระเอ หรือสระแอ คำตอบก็คือ จะต้องจดจำคำศัพท์เอาเองนะคะ ยิ่งท่องจำเยอะ หรือใช้บ่อยๆ จะสามารถจดจำได้เองค่ะ          
                           

    การสร้างคำ และวิธีการเขียนภาษาเกาหลี

    หลังจากที่ได้เรียนรู้ พยัญชนะ และ สระ ในภาษาเกาหลี กันไปแล้ว ลำดับต่อมา ที่ผู้เรียนภาษาเกาหลีจะต้องทราบ นั่นก็คือ การสร้างคำ นั่นเองค่ะ ซึ่งวิธีการสร้างคำในภาษาเกาหลีนั้น ก็เหมือนกับภาษาไทยค่ะ นั่นก็คือ เริ่มจาก พยัญชนะ สระ และตามด้วย ตัวสะกด โดยมีหลักเกณฑ์ในการเขียน ดังนี้

    1.) สระ ㅏ,ㅑ,ㅓ,ㅕ,ㅣ,ㅐ,ㅒ,ㅔ,ㅖ อยู่ด้านขวาของพยัญชนะเสมอ เช่น 가, 야, 서, 이, 내, 얘, 네, 예
    2.) สระ ㅗ, ㅛ, ㅜ, ㅠ, ㅡ อยู่ด้านล่างของพยัญชนะ เช่น 고, 요, 수, 휴, 그
    3.) สระรูปประสม เช่น  ㅘ, ㅙ, ㅚ, ㅝ, ㅞ, ㅟ, ㅢ ให้เขียนพยัญชนะก่อน ตามด้วยสระด้านซ้าย และด้านขวา เช่น ต้องการจะเขียนคำว่า 와 ให้เขียนตัว ㅇ ก่อน จากนั้น ตามด้วยสระ ㅗ และสระ ㅏ จะได้เป็น 와
    4.) ถ้าหากมีตัวสะกดเพิ่มเข้ามา ให้ยึดตามหลัก พยัญชนะ สระ และตามด้วยตัวสะกด ปิดท้ายเสมอ โดยตัวสะกด จะอยู่ด้านล่างของพยัญชนะ และสระค่ะ

    ข้อควรจำ

    สำหรับหลักการเขียนภาษาเกาหลี มีง่ายๆ ค่ะ ให้เขียนจากบน ลงล่าง และเขียนจากซ้าย ไปขวา เสมอ ดังนี้
    k1
                                                                    
       และวิธีการที่จะทำให้เขียนภาษาเกาหลีได้คล่อง ก็คือ การฝึกเขียนบ่อยๆ นั่นเอง มีเวลาว่าง อย่าลืมไปฝึกเขียนกันนะคะ
      การอ่านออกเสียงภาษาเกาหลี ถือว่า เป็นเรื่องที่สำคัญเช่นเดียวกัน และจำเป็นต้องฝึกอ่านให้คล่อง เนื่องจากการอ่านออกเสียงภาษาเกาหลีนั้น จะไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับบริบทเป็นสำคัญ ซึ่งกฏการอ่านออกเสียง ในภาษาเกาหลี มีอยู่ไม่กี่ข้อค่ะ ถ้าหากจดจำได้ ก็จะช่วยทำให้เราอ่านภาษาเกาหลีได้ง่ายขึ้น


      การอ่านออกเสียงตัวสะกด

      แม้ว่าภาษาเกาหลี จะมีพยัญชนะหลายตัว และออกเสียงที่แตกต่างกัน แต่เมื่อมาเป็นตัวสะกดแล้ว จะอ่านออกเสียงได้แค่ 7 เสียงเท่านั้น ดังนี้
      1.) พยัญชนะ ㄱ ㄲ ㅋ ㄳ จะออกเสียงเป็น แม่กก เช่น
      닥 อ่านว่า /ดัก/
      밖 อ่านว่า /พัก,บัก/
      엌 อ่านว่า /ออก/
      넋 อ่านว่า /นอก/
      2.) พยัญชนะ ㅇ จะออกเสียงเป็น แม่กง เช่น 성 อ่านว่า /ซอง/
      3.) พยัญชนะ ㄴ ㄵ ㄶ จะออกเสียงเป็น แม่กน เช่น
      한 อ่านว่า /ฮัน/
      앉 อ่านว่า /อัน/
      않 อ่านว่า /อัน/
      4.) พยัญชนะ ㅁ ㄻ จะออกเสียงเป็น แม่กม เช่น
      남 อ่านว่า /นัม/
      앎 อ่านว่า /อัม/
      5.) พยัญชนะ ㄷ ㅅ ㅆ ㅈ ㅉ ㅊ ㅌ ㅎ จะออกเสียงเป็น แม่กด เช่น
      곧 อ่านว่า /กด/
      웃 อ่านว่า /อุด/
      있 อ่านว่า /อิด/
      잊 อ่านว่า /อิด/
      꽃 อ่านว่า /กด/
      같 อ่านว่า /คัด/
      촣 อ่านว่า /ชด/
      6.) พยัญชนะ ㅂ ㅍ ㅄ ㄿ จะออกเสียงเป็น แม่กบ เช่น
      밥 อ่านว่า /บับ/
      앞 อ่านว่า /อับ/
      없 อ่านว่า /ออบ/
      맖 อ่านว่า /มับ/
      7.) พยัญชนะ ㄹ ㄽ ㄾ ㅀ จะออกเสียงเป็น แม่กล เช่น 발 อ่านว่า /บัล/

      การโยงเสียง

      สำหรับเรื่องการอ่านออกเสียงแบบโยงเสียง  ถือว่า เป็นเรื่องที่สำคัญมากในภาษาเกาหลีค่ะ และจำเป็นต้องฝึกให้คล่องเพื่อไม่ให้ออกเสียงเพี้ยน โดยการโยงเสียง มีทั้งหมด 3 แบบด้วยกัน นั่นก็คือ
      1) พยางค์ที่ลงท้ายด้วยตัวสะกดเดี่ยว และพยัญชนะต้นของพยางค์ถัดไป เป็นตัว ㅇ (อีอึง) ให้โยงเสียงตัวสะกดเข้าไปแทนที่ตัว ㅇ (อีอึง) แทน ตัวอย่างเช่น
      한국어 อ่านว่า 한-구-거 /ฮัน กู กอ/
      윤아 อ่านว่า 유-나 /ยู นา/
      먹을 อ่านว่า 머-을 /มอ กึล/
      ข้อสังเกต สำหรับการโยงเสียงแบบนี้ก็คือ ตัวสะกดในพยัญชนะตัวแรก จะกลายเป็นพยัญชนะต้นของพยางค์ถัดไป ซึ่งแทนที่ตัว ㅇ (อีอึง) นั่นเองค่ะ
      2) พยางค์ที่ลงท้ายด้วยตัวสะกดประสม และพยัญชนะต้นของพยางค์ถัดไป เป็นตัว ㅇ (อีอึง) ให้โยงเสียงตัวสะกดตัวที่ 2 แทนที่ㅇ (อีอึง) ตัวอย่างเช่น
      있어요 อ่านว่า 잇-서-요 /อิด ซอ โย/
      없어요 อ่านว่า 업-서-요 /ออบ ซอ โย/
      앉아요 อ่านว่า 안-자-요 /อัน จา โย/
      3) พยางค์ที่ลงท้ายด้วยตัวสะกด ㅎ และตามหลังด้วยพยัญชนะต้น ㅇ (อีอึง) ให้ตัด ㅎ ทิ้ง เสมือนว่า ไม่ได้ออกเสียง ตัวอย่างเช่น
      좋아 อ่านว่า 조-아 /โช อา/
      싫어요 อ่านว่า 시-러-요 /ชิ รอ โย/

      ข้อควรจำ

      ตัว ㅎ เมื่อเป็นตัวสะกดแล้ว ไม่จำเป็นต้องไม่ออกเสียงเสมอไป ขึ้นอยู่กับบริบทด้วย ดังนี้
      1) พยางค์ที่ลงท้ายด้วยตัวสะกด ㅎ และตามหลังด้วยพยัญชนะต้น ㄱ, ㄷ, ㅅ, ㅂ, ㅈ พยัญชนะต้นเหล่านี้ จะออกเสียงเป็นเสียงหนักทันที ดังนี้
      ㅎ + ㄱ = ㅋ
      ㅎ + ㄷ หรือ ㅅ = ㅌ
      ㅎ + ㅂ = ㅍ
      ㅎ + ㅈ = ㅊ
      ตัวอย่างเช่น
      좋고 อ่านว่า 조-코 /โช โก/
      좋다 อ่านว่า 조-타 /โช ถะ/
      잡히다 อ่านว่า 자-피-다 /จา พี ดะ/
      좋지 อ่านว่า 조 치 /โจ ชิ/
      2) เมื่อตัวสะกด ㄴ, ㄹ, ㅁ, ㅇ อยู่ก่อนหน้าพยัญชนะต้น ㅎ จะสามารถอ่านออกเสียงได้ 2 แบบ นั่นก็คือ อ่านโดยการโยงเสียง ㄴ, ㄹ, ㅁ, ㅇ มาแทนที่ หรืออ่านแบบปกติ ตัวอย่างเช่น
      전화 อ่านว่า 전화 /ชอน ฮวา/ หรือ 저놔 /ชอน นวา/ ก็ได้
      일하다 อ่านว่า 일하다 /อิล ฮา ดะ/ หรือ 이라다 /อี ลา ดะ/ ก็ได้

      การออกเสียงขึ้นจมูก (เสียงนาสิก)

      สำหรับการออกเสียงสำหรับ พยัญชนะนาสิกนั้น มีหลักการจำง่ายๆ ดังนี้
      kkkkk1
      ตัวอย่างเช่น
      앞문 อ่านว่า 암만 /อัม-มุน/
      낱말 อ่านว่า 난말 /นัน-มัล/
      국물 อ่านว่า 궁물 /กุง-มุล/
      막내 อ่านว่า 망내 /มัง-เน/

      การลงเสียงหนัก

      ถ้าหากเจอคำหรือพยางค์ ที่มีการลงท้ายตัวสะกด ㅂ, ㄷ, ㄱ และตามด้วยพยัญชนะต้น ㅂ, ㄷ, ㅈ, ㅅ, ㄱ ในรูปแบบนี้ พยัญชนะต้นของพยางค์ถัดไป ให้ลงเสียงหนัก
      kkkkk2
      ตัวอย่างเช่น
      잡비 อ่านว่า 잡삐 /จับ-ปี/
      법대 อ่านว่า 법때 /บอบ-เต/
      답장 อ่านว่า 답짱 /ดับ-จัง/
      학생 อ่านว่า 학쌩 /ฮัก-เซง/
      입국 อ่านว่า 입꾹 /อิบ กุก/
      หลักเกณฑ์คือ อ่านออกเสียงคล้ายเดิม แต่ลงน้ำหนักเสียงให้หนักขึ้น

      การออกเสียงตัว ㅎ (ฮีอึด)

      สำหรับตัว ㅎ (ฮีอึง) นั้น เมื่อเป็นตัวสะกด หรือพยัญชนะต้น อาจจะอ่านออกเสียง หรือไม่ออกเสียงก็ได้ ขึ้นอยู่กับบริบทของคำ ให้จำดังนี้
      kkkkk3
      ตัวอย่างเช่น
      입학 อ่านว่า 입팍 /อิบ-พัก/
      맏형 อ่านว่า 맏텅 /มัด-ทอง/
      그렇지 อ่านว่า 그러치 /คือ-รอ-ชิ/
      빨갛게 อ่านว่า 빨가케 /ปัล-กา-เค/

      การกลมกลืนเสียง

      สำหรับการกลมกลืนเสียง นับว่าเป็นกฏการออกเสียงที่สำคัญอีกข้อหนึ่ง และถูกใช้กันบ่อยในภาษาเกาหลี โดยมีหลักการจำ ดังนี้
      kkkkk4
      ตัวอย่างเช่น
      심리 อ่านว่า 심니 /ชิม-นี/
      생산량 อ่านว่า 생산냥 /เซง-ซัน-นยัง/
      신라 อ่านว่า 살라 /ชิล-ลา/ หรือ 신나 /ชิน-นา/
      섭리 อ่านว่า 섬니 /ซอม-นี/
      เรามาลองทำแบบฝึกหัดกันเถอะค่าาา
      1. 아버지  อ่านว่า
      2. 딸  อ่านว่า
      3. 흰색  อ่านว่า
      4. 교질   อ่านว่า
      5. 빵집  อ่านว่า
      6. 의사 อ่านว่า
      7. 선생님 อ่านว่า
      8. 가위 อ่านว่า
      9. 비누 อ่านว่า
      10. 겨울  อ่านว่า
      11. 어떻다 อ่านว่า
      12. 시원하다 อ่านว่า
      13. 날씨 อ่านว่า
      14. 고기 อ่านว่า 
      15. 계란 อ่านว่า
      16. 불고기 อ่านว่า
      17. 커피 อ่านว่า
      18. 원숭이 อ่านว่า
      19. 돼지 อ่านว่า
      20. 옥수수 อ่านว่า

      ตัวเลข

      ตัวเลขที่คนเกาหลีใช้อยู่ในปัจจุบันมี 2 แบบค่ะ ก็คือ ตัวเลขของเกาหลี และ ตัวเลขจากจีน โดยลักษณะการใช้ตัวเลขแต่ละแบบก็มีทั้งที่แตกต่างแล้วก็เหมือนกัน ก่อนอื่นมาทำความรู้จักตัวเลขทั้ง 2 แบบกันก่อนนะคะ

      ตัวเลขของเกาหลี
      0 = 공 (คง)

      1 = 하나 (ฮา-นา)  / จะอ่านเป็น한 (ฮัน) เมื่อใช้กับลักษณะนาม เช่น 1 คน คือ ฮันมยอง ไม่ใช่ ฮานามยอง
      2 = 둘 (ดุล) / 두
      3 = 셋 (เซด) / 세
      4 = 넸 (เนด) / 네
      5 = 다섯 (ทา-ซอด)
      6 = 여섯 (ยอ-ซอด)
      7 = 일곱 (อิล-กบ)
      8 = 여덟 (ยอ-ดอล)
      9 = 아홉 (อา-ฮบ)
      10 = 열 (ยอล)
      และตัวเลขต่อๆ ไปก็นำมาอ่านต่อกันค่ะ จะได้เป็น
      11 = 열 하나 (ยอล ฮา-นา)
      12 = 열 둘 (ยอล ดุล)
      13 = 열셋 (ยอล เซด)
      จนกระทั่งถึง 20 ก็คือ
      20 = 스물 (ซือมุล)
      และต่อเติมเป็น 21…22…23…ไปเรื่อยๆ ด้วยเลขโดด เช่น
      21 = 스물하나 (ซือมุล-ฮานา)
      จนถึงเลขหลักสิบใหม่ซึ่งมีต่อดังนี้
      30 = 서른 (ซอ-รึน)
      40 = 마흔 (มา-ฮึน)
      50 = 쉰 (ชวีน)
      60 = 예순 (เย-ซุน)
      70 = 일흔 (อิล-ฮึน)
      80 = 여든 (ยอ-ดึน)
      90 = 아흔 (อา-ฮึน)
      ตัวเลขหลักสิบข้างต้นนำมาใช้ประกอบกับตัวเลขหลักหน่วยได้เลยค่ะ เช่น
      38 = 서른여덟 (ซอรึน-ยอดอล)
      95 = 아흔다섯(อาฮึน-ทาซอด)
      มีข้อยกเว้นบางประการสำหรับการอ่านตัวเลข 1,2,3 และ 4 ในภาษาเกาหลีค่ะ คือ หากนำมาใช้ร่วมกับลักษณะนาม จะเปลี่ยนเป็น
      1 = 한 (ฮัน)
      2 = 두 (ทู)
      3 = 세 (เซ)
      4 = 네 (เน)
      เช่น 1 คน คือ명 (ฮัน มยอง) ไม่ใช่ 하나명(ฮานา มยอง)
      และการใช้ร่วมกับลักษณะนามของตัวเลข 1-4 นี้ ประกอบกับหลักหน่วยไหนก็ต้องใช้แบบนี้นะคะ เช่น
      13 คน = 열명 (ยอล-เซ มยอง)
      ข้อยกเว้นอีกข้อ คือการบอกลำดับใช้แบบการบอกกับลักษณะนาม ยกเว้นลำดับแรก หรือลำดับที่ 1 จะใช้첫 (ช็อด)
      ส่วนตัวเลขตั้งแต่ 100 ขึ้นไป ใช้เลขจากภาษาจีน แต่หลักหน่วยและหลักสิบยังเป็นเลขของเกาหลีค่ะ
      ตัวเลข เกาหลี

      ตัวเลขจากภาษาจีน
      0 = 영 (ยอง)1 = 일 (อิล)
      2 = 이 (อี)
      3 = 삼 (ซัม)
      4 = 사 (ซา)
      5 = 오 (โอ)
      6 = 육 (ยุก)
      7 = 칠 (ชิล)
      8 = 팔 (พัล)
      9 = 구 (คู)
      10 = 십 (ชิบ)
      11 = 십일 (ชิ-บิล)
      12 = 십이 (ชิ-บี)
      จนกระทั่งถึง 20 ก็คือ
      20 = 이십 (อี-ชิบ)
      และต่อเติมเป็น 21…22…23…ไปเรื่อยๆ ด้วยเลขโดด เช่น
      21 = 이십일 (อีชิบ-อิล)
      จนถึงเลขหลักสิบใหม่ ก็นำมาประกอบกลักหน่วยได้เลย มีดังนี้
      30 = 삼십 (ซัม-ชิบ)
      40 = 사십 (ซา-ชิบ)
      50 = 오십 (โอ-ชิบ)
      60 = 육십 (ยุก-ชิบ)
      70 = 칠십 (ชิล-ชิบ)
      80 = 팔십 (พัล-ชิบ)
      90 = 구십 (คู-ชิบ)
      เลขตั้งแต่ 100 ขึ้นไปของเลขเกาหลีจะใช้แบบเดียวกับเลขที่มาจากจีนค่ะ คือ
      100 = 백 (แพก)
      1,000 = 천 (ชอน)
      10,000 = 만 (มัน)
      100,000 = 십만 (ชิม-มัน) คือ 10 หมื่นนั่นเองค่ะ
      1,000,000 = 백만 (แพก-มัน) ก็คือ 100 หมื่นนั่นเอง
      10,000,000 = 천만 (ชอน-มัน) และนี่ก็คือ 1,000 หมื่นค่ะ
      100,000,000 = 억 (ออก)
      สำหรับการนับในหลักหน่วย สิบ จนถึงอีกหลายๆ หลักก็นำมาประกอบได้เลยค่ะ เช่น
      50,000 = 오만 (โอ-มัน)
      27,659 =이만 칠천 육백 오십 구 (อีมัน-ชิลชอน-ยุกแบ็ก-โอชิบ-คู)

      การเลือกใช้ตัวเลขทั้ง 2 แบบ
      แค่ 1-10 ก็จะแย่แล้ว ยังต้องมีตัวเลขตั้ง 2 แบบอีก แล้วทั้ง 2 แบนี้ใช้กับอะไรบ้างอีก โอ๊ย ~ แต่ว่าที่จริงไม่ยากอย่างนั้นหหรอกนะคะ
      • แบบเลขเกาหลีใช้กับลักษณะนามบางตัว เช่น번 (บอน) ครั้งเวลา (ชั่วโมง) 시간 (ชีกัน)
        ปี(อายุ) 살 (ซัล)
      ฯลฯ
      • แบบเลขภาษาจีนลักษณะนามที่ยืมจากต่างประเทศ เช่น킬로 (คิลโล)ราคา/ สกุลเงิน 원 (วอน)
        เวลา (นาที/วินาที) 분 (บุน) นาที และ 초 (โช่) วินาที
        วัน일 (อิล)
      เดือน월 (วอล)
      ปี(จำนวน) 년 (นยอน)
      หมายเลขรถประจำทาง
      เบอร์โทรศัพท์
      ฯลฯ
      ตัวเลข เกาหลี
      พอจะจำได้บ้างไหมคะ สำหรับการใช้ตัวเลขภาษาเกาหลีประกอบเป็นกลุ่มคำ จะเรียงแบบ เลข-ลักษณะนาม-คำนาม หรือ คำนาม-เลข-ลักษณะนาม ก็ได้ค่ะ สำหรับส่งท้ายวันนี้ ลองท่องตัวเลข 1-10 ให้ได้สิคะ ใช้วิธีท่องจำ เทียบกับภาษาไทย หรือจะร้องเป็นทำนองก็ได้นะคะ

      คำทักทายเบื้องต้น


      안녕하세요. อัน นยอง ฮา เซ โย

      안녕히 가세요. อันยองฮี คา เซโย / ลาก่อน (พูดกับคนที่ไป)* 

      안녕히 계세요. อันยองฮี คเย เซโย / ลาก่อน (พูดกับคนที่อยู่)* 

      안녕히 주무세요. อันยองฮี ชูมู เซโย / ราตรีสวัสดิ์ 

      감사합니다. คัมซา ฮัมนีดา /ขอบคุณ 

      미안합니다. มีอัน ฮัมนีดา / ขอโทษ 

      실례합니다. ชิล รเย ฮัมนีดา / ขอโทษ (ลักษณะที่เสียมารยาท) 

      괜찮습니다. แคว็นชั่น ซึมนีดา / ไม่เป็นไร (ตอบรับคำขอโทษ/ ขอบคุณ) 

      천만에요. ชอนมา เนโย / ไม่เป็นไร (ตอบรับคำขอบคุณ) 

      * สงสัยมั้ยคะว่าทำไมต้องมี 2 แบบ เพราะถ้าแปลตามความหมายตรงตัวจะแปลว่าขอให้ไปดีๆ/อย่างสวัสดิภาพนะคะ 
      และแบบที่ 2 คือขอให้อยู่ดีๆ/อย่างสวัสดิภาพนะ ดังนั้นใครจะอยู่ใครจะไปก็อวยพรกันให้ถูกนะคะ อย่าสับสน 
      แต่เอ๊ะแล้วถ้าต่างคนต่างก็แยกย้ายกันไปล่ะ - ง่ายๆค่ะ ต่างคนต้องต่างพูดว่า อันยองฮี คาเซโย ค่ะ  :_hu19:


      제 이름은.........입니다. เช อีรือมึน ............ อิมนีดา / ผม,ดิฉันชื่อ............ 

      반갑습니다. พันกับ ซึมนีดา / ยินดีที่ได้รู้จัก 

      또 만납시다. โต มันนับชีดา / แล้วพบกันใหม่ 


      ตัวอย่างประโยคแนะนำตัวเอง 

      안녕하세요? 저는 김하나 입니다. 반갑습니다. 
      อันยอง ฮา เซโย ชอนึน คิมฮานา อิมนีดา. พันกับ ซึมนีดา 
      สวัสดีค่ะ ดิฉันชื่อ คิมฮานา ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ

      คำขอบคุณ

      감사합니다. คัมซา ฮัมนีดา/ คัมซามีดา = ขอบคุณ (สุภาพกว่า) 
      고맙습니다. โคมับ ซึมนีดา = ขอบคุณ
      고마워요. โคมาวอโย ขอบคุณ (สุภาพน้อยกว่า) 
      고맙다. โคมับตะ = ใช้พูดกับเด็กๆ

      คำตอบรับขอบคุณ 

      괜찮습니다./ 천만에요. ไม่เป็นไรครับ/คะ 

      คำขอโทษ 

      죄송합니다. ชเว ซง ฮัมนีดา = ขอโทษ (สุภาพกว่า) 
      미안합니다. ขอโทษค่ะ 
      미안해요/ 죄송해요. มีอันแฮโย/ชเว-ซง แฮโย (สุภาพน้อยกว่า)

      คำตอบรับขอโทษ 

      괜찮습니다. คแวนชันซิพนีดา ไม่เป็นไรครับ/คะ

      ตัวอย่างการทักทาย